ความเป็นมาของร้านนี้

เตรียมตัวอ่านนิยาย

ความเป็นมาของร้านนี้

ด้วยความทรหดของการทำเกม ก็เลยอยากแตกไลน์ย่อยไว้กันตายด้วย BadgeCraft.House นี้เป็นร้าน gift shop ที่รับทำเข็มกลัดเท่านั้นและไม่มีหน้าร้าน (เข็มกลัดกลมๆที่ใส่ภาพอะไรก็ได้ ไม่ใช่เข็มกลัดสามมิติตราเหล็ก)

Blog post นี้จะมา document หลายๆอย่างเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ครับ

ทำไมถึงเลือกเริ่มธุรกิจนี้ ทำไมต้องร้านเข็มกลัด

ความประทับใจส่วนตัว

แรงบันดาลใจแรก จริงๆแล้วมาจากเกมตัวเองนี่แหละ ชื่อเกม Mel Cadence เกมนี้ระหว่างทำเกม จัดกิจกรรม public submission รับเพลงจากคนญี่ปุ่นมาจำนวนหนึ่ง ก็มีคนมาร่วมกิจกรรมจริงๆ ซึ้งใจมากๆ

ก็เลยคิดว่าจะทำเข็มกลัด limited edition ไปแจก บางคนก็ส่งไปทางเมล แต่พอดีช่วงนั้นได้มีโอกาสไปงาน M3 ซึ่งเป็นงานขายแผ่นเพลงที่ญี่ปุ่น ที่คนส่งเพลงมาเกมตัวเองก็ไปออกงานกันเป็นประจำ ก็เลยได้เอาไปให้กับมือ เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆครับ

ซึ่งจะให้เข็มกลัดได้ก็ต้องสั่งทำ ซึ่งตอนแรกจะทำที่ไทยแล้วแบกไปญี่ปุ่น แต่ว่าผมได้พบกับปัญหาต่างๆ (ซึ่งจะอธิบายต่อไปใน section อื่น) แต่เอาเป็นว่าผมได้ไปสั่งกับเว็บญี่ปุ่นแทน! แล้วให้เขาส่งไปบ้านเพื่อนที่ญี่ปุ่น แล้วผมไปนอนบ้านนั้นวันก่อนวันงานพอดีแล้วก็รับไปแจกเลย (ขอบคุณ คุณพูม มากๆครับที่ให้ที่อยู่อาศัย)

ดูภาพ package ของประเทศเขาครับ ดูดีโคตรๆ ชิ้นตัวอย่างแยกออกมาอันนึงให้ด้วยนะ

สิ่งที่ผมประทับใจเป็นพิเศษคือ

  • Art ที่ตัวเองวาดออกมามีชีวิต จับต้องได้
  • เป็น medium ที่ feel good กว่าและมันดูดีกว่าแบบ print ภาพมาใส่กรอบให้จับต้องได้อะไรงี้ เพราะว่า มันมีฟีลโลหะ เหมือนภาพเรากลายเป็น "ของจริง" (ไม่ได้รู้สึกเหมือนกรอบภาพที่แบบว่า โอเคภาพอยู่ข้างใน ถอดออกมาก็กลายเป็นโง่ๆละ) อันที่จริงภาพก็เป็นกระดาษแต่ถูกประกบด้วยเคลือบใส (mylar) ทับบนโลหะ แต่มันเนียนมาก
  • จับแล้ว feel good เพราะด้านหลังเป็นโลหะ แล้วก็นึกไปถึงร้านในเว็บไทยที่แทบจะหาร้านที่แคร์ material feel ไม่ได้
  • ใน package มีการ์ดกับดอกไม้แห้ง บอกว่าขอบคุณที่สั่งซื้อ น้ำตาจะไหล!

โฆษณาให้ซะเลย ร้านที่ว่าคือ UCANBADGE ประเทศญี่ปุ่นนี้ เขาเรียกของแบบนี้ว่า Can Badge ครับ (缶バッジ) ที่ชื่อแบบนี้ไม่ใช่เพราะเป็นเข็มกลัดที่ไปติดกระป๋อง แต่เดิมทีวัสดุที่ใช้ทำเป็นแบบเดียวกับดีบุก (tin) ที่ใช้ผลิตกระป๋อง

https://www.u-canbadge.com/

เป็นของที่ต้องใช้เวลาเติบโต

เนื่องจากไม่ใช่ร้าน print shop / gift shop แบบเต็มตัว และทำออนไลน์ล้วนๆ ก็คงจะเสียเปรียบร้านเต็มตัวที่พร้อมกว่าเยอะอยู่ คิดว่ากว่าจะมี presence บนเน็ตได้คงต้องใช้เวลาและผ่านลูกค้ารายเล็กๆไปซักระยะนึง (1-2 ปี?) ระหว่างนั้น งานคงน้อยและร้างมากๆ

ก็เลยคิดว่า ระหว่างทำเกมอยากจะฟูมฟักเจ้าร้านนี้ไปด้วย เวลาทำเกมจะได้เหมือนมี passive income ไม่สิ เรียกว่า passive growth ดีกว่า

คิดซะว่าเหมือนตอนคิดจะหาต้นไม้ซักต้นมาไว้โต๊ะทำงานหรือหาสัตว์เลี้ยงซักตัวมาเลี้ยง แบบแค่อยากเห็นอะไรโตไปด้วยกันไปพลางๆเฉยๆ

เครื่องมันเล็ก

เครื่องทำเข็มกลัดแบบ manual เป็นสิ่งที่ซุกเก็บไว้ง่าย ก็เลยรู้สึกว่าโอเคที่จะเป็น sideline มากกว่าคิดจะทำธุรกิจขายคุ้กกี้ไรงี้ ต้องซื้อเตาอบ 555

Seize the niche

แนวคิดเหมือนเกม Duel Otters ที่ทำไปก่อนหน้า เวลามองเห็นช่องว่างเล็กๆที่รู้สึกว่าตัวเองเท่านั้นที่เข้าไปเสียบได้แล้วอยากลองหาเรื่องดูแม้ว่าอัตรากำไรจะเล็กแค่ไหนก็ตาม

ยุคที่เขาทำเกม match three ทำเกม endless runner กันผมก็ไม่สนใจ เพราะคิดว่า "แจม" เข้าไปก็สู้ยาก (แต่บางคนก็คิดว่าเป็นการ ride the wave แล้วน่าจะเวิร์คกว่าเล่นสาย niche)

พอเป็นคนแบบนี้ กับเห็นหลายๆอย่างที่ยังเว้นว่างไว้อยู่ก็เลยคิดว่าอยากจะลอง "experiment" นี้ ว่ารวมกันทุกอย่างแล้วจะเป็นไปตามแผนที่เราคิดมั้ย

เกมตัวเอง

อยากทำ merchandise ของเกมตัวเอง ได้ด้วยตัวเอง 555

ไม่หวิว

ตัวเองยังมีเกมกับ Asset Store อยู่ ถ้าทำขึ้นมาแล้วไม่มีลูกค้าเลยก็ยังไม่ใจเสียขนาดทำร้านนี้ล้วนๆ แล้วก็ไม่มี running cost ถ้าไม่มีลูกค้าเข้ามา นอกจากค่าเว็บไซต์ที่โฮสต์บนที่เดียวกันอยู่แล้วกับค่า domain name

Pain point / weak point ต่างๆของเจ้าอื่น

Material ข้างหลัง

จากที่สั่งที่ญี่ปุ่นแล้วได้ metal back มาก็เลยจำได้ตอนที่หาร้านที่ไทย ภาพในหลายๆร้านเป็นภาพแบบขโมยมาจากเน็ต ถึงมีด้านหลังให้ดูแต่ก็ไม่ได้ถ่ายเอง ด้านหลังไม่เหมือนกันซักภาพ อันนึงพลาสติก อันนึงโลหะ อันนึงเป็นภาพ vector art ฯลฯ ซึ่งพอแชทไปถามจริงๆมักจะได้คำตอบว่าเป็นพลาสติกสีขาว

พลาสติกก็ไม่ใช่ไม่ดี เช่นสนิมจะขึ้นแค่ส่วนเข็มเท่านั้นสำหรับคนที่เก็บรักษาไม่ดี ทำให้เข็มกลัดที่เป็นสนิมแล้วเลอะของแต่งตัวน้อยลง (แต่ถ้าให้ถูกไม่ควรให้มันอยู่ในที่ชื้นแต่แรก)

แต่มันแสดงถึงความไม่แคร์ของร้าน ซึ่งคิดว่าข้างหลังมันไม่เห็นจะพูดถึงทำไม แต่จริงๆแล้วคนที่จับเข็มกลัดที่ได้มาเนี่ยตอนสัมผัสครั้งแรกก็ได้โดนข้างหลังแล้ว ชอบตรงที่หลังโลหะ มันทำให้ประทับใจตั้งแต่กลัดครั้งแรก

ผมก็เลยอยากจะทำร้านที่แคร์ส่วนนี้ แล้วบรรยาย premium feel ของหลังโลหะให้คนไทยได้รู้ได้แคร์กันบ้าง ส่วนจะมี option พลาสติกให้เลือกมั้ยนั้นใจจริงก็อยากให้มีเพราะมันก็มีข้อดีของมัน (เช่นความที่มันเป็นสีขาวหรือดำนั่นแหละ อาจจะเข้ากับ artwork) แต่คงต้องมีทุนพอที่จะ stock option หลายๆแบบซักพัก ตอนแรกจะเน้นหลังโลหะอย่างเดียวก่อน

ไม่บอกราคา

หลายๆร้านให้ติดต่อไปถามราคาเอง ก็เลยอยากทำร้านที่มีตารางราคาบอกชัดๆ (แต่หลายร้านมีตารางราคา แล้วต้องติดต่อแค่ว่าถ้าจำนวนมากๆ อันนี้โอเคอยู่)

Tier เริ่มต้นที่ไม่เป็นมิตรกับงานบางประเภท

จากที่สำรวจมามี tier เริ่มต้นฮิตอยู่ 2 ขนาดคือ 100 ชิ้น+ ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณชิ้นละ 10 บาท ร้านที่มี tier 30 ชิ้นก็เจอแต่น้อยมาก

คนที่ออกบูท doujinshi แบบทำภาพตัวเองมาขาย ผมคิดว่า 100 ดูเป็นจำนวนที่กังวลอยู่ว่าจะขายหมดมั้ย ก็เข้าใจว่าถ้าเปิดให้ทำกี่ชิ้นก็ได้มันก็อาจจะไม่คุ้มค่าเหนื่อย ร้านใหญ่ๆยังไงก็มีองค์กร หน่วยงาน ฯลฯ ที่ต้องการจำนวนเป็นพันชิ้นไปใช้ในงานสร้าง awareness มาใช้บริการอยู่แล้ว ก็เลยไม่คุ้ม financially ที่จะเปิด tier ต่ำให้เสียแรง ผมก็เลยอยากเปิดร้านที่รองรับ tier ต่ำ

แล้วก็ว่าจะทำต่ำเป็นพิเศษถึงขนาดแม้แต่ทำอันเดียวก็รับ (ถ้าคิดว่าคุ้มค่าส่งที่แพงกว่าค่าเหรียญ) เห็นร้านที่รับทำอันเดียวในเน็ตด้วย แต่ว่าอันละ 100 บาท! มันก็ใช่ว่าการเริ่มงานจำนวนน้อยๆมันเสียอะไรเยอะ นอกจากแค่กระดาษที่ปริ้นต์ออกมามันเหลือที่ว่างเพียบ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเพิ่มราคาเยอะขนาดนั้น ที่ร้านอื่นเพิ่มเยอะขนาดนั้น เพราะร้านเข้ามี "pipeline" ให้งานไว การรับงานจำนวนน้อยทำให้เขาเสียโอกาสที่จะไปทำงานอื่นที่ได้คุ้มกว่านี้ ไม่คุ้มที่จะเซ็ตอัพ pipeline ที่ว่าเพื่อมาทำแปปๆจบ แต่ร้านนี้ทำได้เพราะร้านนี้ไม่ได้รับงานอื่น ไม่มีอะไรจะเสีย

คนที่อยากทำอันเดียวทำไปทำไม? เช่น นึกสนุกอยากจะติดหมวกติดรองเท้าของตัวเองด้วยภาพอะไรซักอย่าง แบบนี้เขาจะไปพึ่งใครถ้าเริ่มต้นต้องทำ 30 อัน อีก 29 อันจะเอาไปทำอะไรดี ร้านส่วนมากบริการเพื่อ use จริงจังไม่ได้รองรับการนึกสนุก ผมอยากให้ร้านเป็นที่พึ่งทางนี้ได้ (แล้วก็นี่เป็นฟีลนึงที่อยากให้ได้จากชื่อร้าน ที่อ่านแล้วดู "home made")

ไม่แคร์พอ

หลายๆร้านก็ส่งของตรงเวลา ไร้ตำหนิ ราคาไม่แพง นั่นแหละ นี่ก็ที่สุดของสามเหลี่ยม cost - quality - time แล้วจะเอาอะไรอีก!

เราสามารถก้าวไปอีกระดับได้ด้วยการทำร้านที่... แคร์กว่า แคร์เนี่ยในภาษาอังกฤษที่อยากพูดคือ craftsmanship อยากทำร้านที่ดูรู้ลึกเรื่องเข็มกลัด ดูใส่ใจกับทุกๆอย่าง ไม่ได้ว่าร้านที่มีอยู่ตอนนี้นะเพราะของเขาก็ไม่มีอะไรแย่ แต่การไม่มีอะไรแย่ มันยังไม่ "exceed the expectation" เรายังไปได้ไกลกว่าสุดยอดของสามเหลี่ยมอีกระดับ

คิดว่าถ้าตัวเองทำแค่เข็มกลัด อาจจะเปิดโอกาสจุดนี้ได้กว่าร้าน general gift shop ตรงนี้จะมีท่าเล่นหลายๆอย่างที่อยากลอง จะอธิบายในส่วนจุดเด่นร้าน

จุดเด่นของร้าน BadgeCraft.House / สิ่งที่อยากทำ

เล่นเครื่องนอก

เซิจดูก็เจอร้านขายเครื่องปั้มในไทยบ้าง ซึ่งเป็นเครื่องจากจีน จาก observation นี้ ก็เลยคิดจะเล่น concept "ใช้เครื่องนอก" แล้วโฆษณาในร้านแบบ explicitly ไปเลยว่าเราไม่ใช้เครื่องจีน

เครื่องนอกที่ว่าคือ Tecre ซึ่งมีชื่อเสียงมากใน USA http://tecre.com แล้วก็เครื่องดูดีมาก โดยเฉพาะส่วนเหล็กนี่ดู clean สุดๆ พอเห็นแล้ว ก็เลยคิดว่าอาจจะถ่ายรูปสวย อยากทำเว็บร้านเพื่อมาเล่นกับความสวยของเครื่องด้วย เป็นคอมโบกับการที่โม้ว่าใช้เครื่องอย่างดี

เครื่อง Tecre นี้ก็มีจุดอ่อนเหมือนกัน คือ หัวเปลี่ยนไม่ได้! เครื่องจีนส่วนมากสลับ size หัวได้ ทำให้เปิดธุรกิจทีละหลายๆ size ได้อย่างรวดเร็ว ทาง Tecre ก็ได้อธิบายไว้อยู่ว่าทำไมเขาถึงทำเครื่องให้เปลี่ยนหัวไม่ได้ https://www.tecre.com/blog/2018/11/3-categories-where-tecres-button-makers-are-winning/ ซึ่งตัวเองก็จะอธิบายข้อดีพวกนี้ไว้ในเว็บด้วย

กลายเป็นจุดอ่อนของร้านที่ว่ามี size ให้เลือกน้อยไปด้วย แต่คิดว่าถ้าคนต้องการ size อื่นจริงๆก็ให้ไปใช้บริการร้านอื่นก็ไม่เป็นไร จนกว่าจะมีทุนซื้อ size ต่อไป

แล้วก็เนื่องจากร้านใหญ่ๆมีเครื่อง automatic เพื่อรับ demand ก็เลยยากที่เครื่องทำมือแบบเราจะสู้ได้ การใช้เครื่องทำมือ แต่ว่า brand ดัง คิดว่าน่าจะพอชดเชยจุดนี้ได้

Size มีนิยาม

ร้านอื่น size ที่มีให้เลือก ก็แค่มีให้เลือก แต่ร้านเรา จะมีนิยาม "use" ของแต่ละ size ไว้ว่า มีนิสัย มีจุดเด่น เหมาะกับงานอะไร และมีภาพตัวอย่างเยอะๆ ให้รู้ว่าเราแคร์ คิดว่าการเลือก size นี้ก็เป็น pain point นึงของคนที่เพิ่งเข้าวงการเข็มกลัด ว่าขนาดไหนที่เขาฮิตกัน หรือเราต้องใช้ขนาดที่เขาไม่ฮิตกัน?

เนื่องจากเครื่อง Tecre ต้องซื้อ 1 เครื่องต่อ 1 ขนาด ก็เลยคิดว่าจะค่อยๆแตก line เมื่อมีทุนพอ เช่น

  • 44mm (1-3/4" , 1.75 inch) - ขนาดฮิตของคนไทย ส่วนตัวว่าใหญ่ไปหน่อยแต่จะเริ่มธุรกิจจากขนาดนี้ขนาดเดียว ถ้าสั่งขนาดนี้ค่อนข้างการันตีว่าจะ "เข้าพวก" แล้วก็ติดเสื้อก็มี visibility ค่อนข้างสูง แต่ถ้าใช้เป็น "token" จะรู้สึกใหญ่ไปนิด ส่วนตัวไม่ชอบแต่เพื่อ play safe จะเริ่มจากขนาดนี้
  • 32mm (1-1/2", 1.25 inch) - เป็นขนาดฮิตของฝรั่ง และเป็นขนาดที่ส่วนตัวชอบมาก (คือขนาดของภาพของที่สั่งจากญี่ปุ่น) เป็นขนาดที่คนรับรู้สึกไม่ลำบากเก็บ ดูเล็กเป็นของสะสม ติดรองเท้ากับหมวกได้โดยไม่ "เว่อร์" มากด้วย ดูพรีเมี่ยมมากๆถ้าข้างหลังเป็นโลหะ ยิ่งถ้าภาพที่พิมพ์มี DPI สูงๆ มาอยู่บนของเล็กๆยิ่งดูดี หลังขาย 44mm ได้เงินกลับมาพอแล้ว จะซื้อขนาดนี้ต่อ

ชัดเจนกับวัตถุดิบ

หลายๆร้านอาจจะหยุดแค่ว่างานเร็ว สีสดใสถูกต้อง แต่เราจะไปไกลกว่านั้น

อยากเน้นเป็น 10 รอบว่าของเราข้างหลังเป็นโลหะ เข็มกลัดเรากระดิกน้อย ถ้าเป็นสนิมแล้วจะทำความสะอาดยังไง แม้แต่ "crimp" ข้างๆ (ตรงที่ภาพกับพลาสติกเคลือบยัดเข้าไปตอนปั้มเหรียญ) ก็อยากเน้นว่าของเรา clean จริง (ของร้านอื่น crimp ก็ไม่ได้แย่ แต่อยากเน้นให้รู้ว่าเราแคร์กับเรื่องแค่นี้) แล้วก็ชัดเจนว่าของๆเรามีแพ็คถุงแยกต่ออันให้ พร้อมแจกทันที

Back ที่มีให้เลือกหลายอย่างกว่าร้านอื่นแบบสุดๆ

วัตถุดิบของ Tecre มีหลังหลายแบบมากกว่า pin back เช่นหลังเปิดขวด หลังแม่เหล็ก สองอย่างนี้อาจจะมีเห็นที่ร้านอื่นเยอะ แต่ที่หายากก็มีเช่น หลังเรียบ (ไว้กะไปติดกาวกับอย่างอื่น) หลังร้อยเชือกรองเท้า (shoe lace back) หลังเสียบตรง (prong back)

การเอาหลังอื่นที่อาจจะ demand น้อยเข้ามาก็มีความเสี่ยงทุนจม แต่เพื่อให้ร้านดู versatile ก็อยากทำแบบนั้น ประกอบกับการที่มี size ให้เลือกน้อย น่าจะทำให้สามารถ stock หลังแบบแปลกๆของ size ที่มีให้ครบได้ง่ายขึ้น

แต่ตอนแรกคงยังไม่มีเลย รอได้กำไรซักพักถึงเริ่มแผนนี้

เล่น Strength ของตัวเอง ที่เป็น game developer

ถ้านึกภาพร้านอื่นที่ไม่ได้ทำ "end-to-end" ด้วยตัวเอง จะมีการเสีย control ในบางจุดไป ก็เลยคิดว่ามีอะไรบ้างที่เราทำได้สะดวก และร้านอื่นรู้สึกยุ่งยาก คิดว่าจะเล่นจุดนั้นให้เยอะๆจะได้ stand out ในแบบของเราเอง เนื่องจากเป็นคนทำเกม ก็เลยกลายเป็นต้องทำหลายๆอย่างเป็นในระดับพื้นฐานอยู่แล้ว น่าจะเอามาใช้ได้

เช่นเว็บ อาจจะมี mascot! เพราะพอวาดรูปได้บ้าง คิดว่าทำเป็นตัวการ์ตูนตอนอธิบายสิ่งต่างๆน่าจะดูดี (ถ้าร้านอื่น จะจ้างคนวาดตัวการ์ตูนก็ได้แหละ แต่เราวาดเป็น เราสามารถเปลี่ยนหน้า สามารถวาดใหม่ เทศกาลไหนก็เปลี่ยนชุดง่ายและรวดเร็ว)

หรือเว็บอาจจะมี Unity WebGL build ที่ไว้ออกแบบหรือ preview เข็มกลัดเป็นต้น วางแผนไว้อยู่

Mascot

เว็บอยากให้มีคาแรคเตอร์ จริงจังขนาดอยากทำหน้าแนะนำตัวละครด้วย เป็น message ไปให้ผู้ซื้อประมาณว่า เอาจริงนะโว้ยย

Doujinshi friendly

การที่มี tier 30~50 ในราคาเฉลี่ยมาตรฐานเป็นจุดแรกที่อยากให้เห็นว่าร้านนี้แตกต่าง ว่าเรายอมเหนื่อยทำ order เล็กๆแบบไม่เลือกลูกค้าเพื่อให้ลูกค้า section นี้มีที่พึ่งขึ้นมา ร้านใหญ่อาจจะตัดสินใจทำแบบนี้ยากเพราะไม่คุ้มเมื่อเขามีงานอื่นที่ทำแล้วได้กำไรมากกว่า เราไม่มีอย่างอื่นแล้วเลยคิดว่าทำได้

การที่ในร้านมีตัวการ์ตูนอยู่ อยากให้ดู welcoming กับวัยรุ่นกลุ่มนี้ด้วย อาจจะมีหน้าที่ตกแต่งมาต้อนรับชาวทำของ original โดยเฉพาะ (ภาพตกแต่งเช่น ภาพบูทขายของ ข้างหนังสือโดจิน)

กล้าเล่น Extended TLD

ชื่อร้านนี้ คิดมาจากการไล่ดู extended top level domain โดยเฉพาะ จนมาลงเอยที่ .house เพราะรู้สึกว่ามันมีกลิ่นความ hand made อยู่

คนไทยอาจจะไม่คุ้นกับไม่กล้าจดอะไรที่ไม่ใช่ .com เพราะกลัวคนพิมพ์กันไม่เป็น แต่ส่วนตัวอยากลองเล่นดู คิดว่าอาจจะกลายเป็น strong point ได้ แล้วก็อีกอย่างถ้าเข้ามาจาก Google ก็ไม่ต้องพิมพ์อยู่ดี

หลายๆเว็บตั้งชื่อแบบ พยายาม SEO โดยตรงเช่น www.รับทำเข็มกลัด.com www.ทำเข็มกลัด.com www.เข็มกลัด.com (คนละเจ้ากัน!) ของเราจะพยายามเล่น SEO ด้วย content ในเว็บแทน (หัวข้อต่อไป)

มี Content เกี่ยวกับเข็มกลัด จนติดใน search ทางอ้อม

อีกอย่างที่คิดว่ามีแค่ร้านตัวเองที่ทำได้ คือร้านที่ขาย gift shop เยอะๆมันดูไม่ specialize ถ้าร้านเราที่มีแต่เข็มกลัด เราสามารถทำ content Facebook หรือ blog post เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเข็มกลัดได้ด้วย เป็นทั้ง SEO และเป็น untapped potential

ถ้าตั้งใจทำไปเรื่อยๆ คิดว่าน่าจะดู professional ดี ไม่เคยเห็นคนไทยแบบ บ้าเข็มกลัด โปรเข็มกลัด (ถ้าเทียบกับ hobby อื่น มีโปร/โอตาคุเยอะกว่ามาก)

content ที่ว่าอยากทำให้คนไทยรู้พลังของเข็มกลัด และแสดงความสวยงามของเข็มกลัดในแบบต่างๆ เช่นเป็นแฟชั่นบนเครื่องแต่งตัว หรือเป็นของสะสม ของแต่งโต๊ะหนังสือ ฯลฯ

Preview ออกแบบเอง

ภาพเข็มกลัด preview ทั้งหมดที่ไม่ใช่งานจากลูกค้า จะเป็นภาพที่ออกแบบเองให้เข้ากับ theme ของเว็บ อาจจะมีตัวละคร mascot ที่ว่าอยู่ด้วยบางอัน และจะไม่ใช่ของผิดลิขสิทธิ์เหมือนร้านมักง่ายบางร้าน (เห็นหลายร้านใช้ไอคอน App ต่างๆ ใช้ตรายี่ห้อเช่นโค้ก หรือใช้ตัวการ์ตูนลิขสิทธิ์)

แล้วก็ของประดับฉากว่าจะจัดให้เข้ากับลาย preview ด้วย

ภาพถ่ายเอาจริง

หลายๆเว็บ ภาพ preview เป็นภาพ "กอง" เข็มกลัดหรือภาพเข็มกลัดธรรมดา แต่เราจะเอาจริง เราจะเอาแบบจัดดีๆแล้วใช้กล้องที่มีถ่ายสวยๆ ไม่ใช่เป็นภาพที่ดู "โรงงาน" เหมือนเว็บที่เจอมา กล้องมี D5200 ที่ซื้อมาเมื่อปีมะโว้ คิดว่าน่าจะใช้ทำเว็บดีๆได้ มีเลนส์แถมที่มอเตอร์พังแล้ว กับเลนส์ fix ไว้ทำภาพเข็มกลัดหลังเบลอน่าจะเข้าท่า เอาให้ตั้งใจเหมือนถ่ายหน้าคน เห็นเงาดูพรีเมี่ยมๆจากหลังโลหะชัดๆ

อยากให้เข้าเว็บมาแล้วคนคิดว่า เออ เข็มกลัดนี่เจ๋งวะ! เหมือนเข้ามาเว็บ gallery ภาพ ไม่ต้องสั่งเข็มกลัดก็ได้ แค่ดูก็สนุกแล้ว อะไรแบบนั้น

มี video content

จริงจังเกมมิ่งขึ้นกว่าอีกระดับ ร้านนี้มี channel YouTube ด้วย จะลงวิดิโออะไร ก็เช่นขั้นตอนการทำเข็มกลัด (เป็นการโฆษณาเครื่องนอกของร้านไปในตัว) anatomy ของเข็มกลัด หรือการดูแลเข็มกลัด การออกแบบเข็มกลัด (พาใช้โปรแกรมเลย แบบ ทำอักษรโค้งตามขอบยังไง ฯลฯ อันนี้ก็คิดว่าร้าน gift shop ทั่วไป ไม่สามารถทำตามได้เพราะมัน overboard

เนื่องจากทำเกมแล้วต้องแต่งเพลงเป็น ก็เลยคิดว่าจะ engineer เสียงให้มันฟินๆ แบบกดเข็มกลัดที กรึ้ก.. ไปถึงจิตวิญญาณ 555 มันจะได้ขนาดนั้นมั้ยก็ไม่รู้ แต่คิดว่าจะลองใช้ reverb กับ stereo imager ให้ฟังดูเว่อร์ๆ มาถึงจุดนี้ คิดว่าร้านอื่นๆคงจะคิดว่าเอาที่มึงสบายใจเลยครับแล้ว

ร้านมี Theme

ไหนๆก็ไม่มีหน้าร้าน ก็เลยอยากทำเว็บร้านให้มันไม่ generic เท่าที่จะเป็นไปได้ (less "corporate") ที่คิดๆไว้อยากให้ออก earth tone เพราะชื่อ BadgeCraft.House มันดู ...บ้านๆ ดิบๆ 555

ทำดีๆ ไม่แน่อาจจะขายเข็มกลัดหรือ merchandise ของร้านได้เลย ดังนั้นอยากออกแบบ mascot ที่ว่าดีๆหน่อย คิดว่าจะเป็นเด็กผู้หญิง (โมเอะ) กับสัตว์อะไรซักอย่างอีกตัวเป็นคู่หู

วัยรุ่น

จากการสำรวจกว่า 50% ของเว็บทำเข็มกลัดไทย (ที่ทำ gift shop อื่นด้วย) ดูโบราณยังกับหลุดมาจากยุค geocities ก็เลยอยากทำเว็บที่ดูสดใส โมเดิร์น รู้สึกไม่ร้าง ร้านที่ดูโบราณๆจริงๆเขาก็ไม่ได้ร้างนะ แต่เห็นสภาพ banner ยืดผิด aspect เห็นสภาพ visit counter แล้วดูเหมือนร้าง..

ตัวอย่างร้านที่ดูโมเดิร์น เช่นร้านทำเสื้อร้านนี้ https://www.monamafia.com/ ที่เคยสั่ง รู้สึกได้ว่าคนทำเว็บไม่ได้พึ่งความสำเร็จรูปของอะไรซักอย่าง (แล้วก็เสื้อร้านนี้ดีมาก ไม่ใช่แค่เพราะผ้านุ่มสบายแต่เพราะมันไม่ติดไหล่ เป็น feature ที่หลายๆร้านไม่ได้ stress ไว้แต่มันเป็นจุดใส่ไม่สบายจุดต่อมาจาก size เลย)

Overlay options

ถ้ามีทุนมากขึ้นระดับซื้อเครื่องตัดวงกลมแบบหมุนได้ อยากซื้อมาทำวงแหวนเลื่อมทอง/สะท้อนแสง ไว้ overlay เข้าไปบนภาพได้

ชัดเจนกับ packaging options

ยังไม่พอ นอกจากเราจะมีถุงแยก 1 ต่อ 1 ให้แล้ว (ซึ่งร้านในไทย ก็เห็นมีบริการแบบนี้อยู่) เราเพิ่มความแคร์ด้วยการเปลี่ยนเป็นแพคอื่นได้ตามใจชอบโดยการเพิ่มเงินจากราคาฐาน ไอเดียนี้มาจากร้าน UCANBADGE ของญี่ปุ่นนั่นแหละ ดูเขาใส่ใจมาก ชอบ

ก็คือ บางคนอาจจะอยากขายเป็นเซ็ตที่มีหลายเหรียญในบูทโดจินตัวเอง อันนี้ก็บอกได้ว่าอยากได้เป็นถุงยาวถุงละ 3 เหรียญที่ลายไม่ซ้ำกัน หรืออยากได้ป้ายกระดาษออกแบบเอง staple ไว้ข้างบนแบบนั้นก็จะทำให้ หรือเลือกแบบมีกระดาษแผ่นยึดเหรียญแต่ละเหรียญไว้ก็ได้ เลือกสีกระดาษได้อีกว่าอยากได้ backdrop สีอะไรไปนำเสนอภาพตัวเอง

หรืออยากได้แบบไม่ใส่ซองแยกแล้วอยากจะไปแยกยังไงเรื่องของตัวเองก็ได้ แบบนั้นจะลดราคาให้ด้วย! ก็จะสุมรวมกันในถุงใหญ่แทน

เรียกได้ว่าอะไรก็ตามที่ยังอยู่ใน scope เข็มกลัด อยากเอาให้สุด ร้าน gift shop ใหญ่ที่มีเครื่องอัตโนมัติ อาจจะไม่อยากทำงาน labor ที่ดู custom ระดับนี้ เลยคิดว่าตัวเองชนะได้ (คือมันต้องมาตัดกระดาษ มากลัดเข็มกลัดใส่กระดาษ มานั่ง staple ทีละอันๆ แถมต้องเตรียมซองพลาสติกไว้หลายขนาด)

Online design app

ว่าจะทำ web app ที่ออกแบบเหรียญได้ pain point หลักๆของคนมีภาพ แต่อยากทำอะไรซักอย่างต่อ อย่างแรกเลยคือทำตัวอักษรโค้งตามขอบกลม อย่างที่สองคือใส่วงแหวนให้มันพอดี อยากทำ tools ให้มันปรับสองอย่างนี้ได้ง่ายๆ (ก็คือไม่ใช่ general purpose image editor)

โปรแกรมที่ว่าทำ bg สีล้วนได้ ทำ gradient ได้ ที่สำคัญต้องทำ "radial" ต่างๆได้ง่าย เช่น radial gradient, radial "ผ่าง" แล้วก็อยากให้ gradient สามารถใส่ thresholding ได้ คือให้เห็นมันแยกเป็นชั้นๆ เหมือนโดน toon shader เข้าไป

อาจจะใช้ Unity ทำ ซึ่งคงโหลดหนักหน่อยแต่ก็นะ น่าจะทำสะดวกดีแล้วใช้ shader ได้โดยตรง (Shader Graph!) แล้วก็ UI ไทยทั้งหมด ประกาศศักดาว่าไม่ได้เอาของสำเร็จรูปที่ไหนมาใช้

ฟอนต์ที่มีให้ใช้ในเว็บแอพก็จะเอามาจากเว็บฟอนต์ไทย มีฟอนต์ราชการมาตรฐานให้ใช้

ได้เปรียบด้าน identity

คิดว่าถ้าสมมติไปออกบูธ การพูดได้ว่าตัวเองเป็น "ร้านเข็มกลัด" แทนที่จะเป็น "ร้าน gift shop" มันดูน่าสนใจดี

สร้างความประทับใจ

ประทับใจกับดอกไม้แห้งของร้านนั้นที่ญี่ปุ่น ก็เลยอยากลองใส่อะไรไปในของส่งด้วยเช่นการ์ดขอบคุณ หรือโค้ดลดราคารอบต่อไปให้เอาไปแจกใช้ได้ตามสบาย

สร้างแรงบันดาลใจ

ต่างจากประทับใจ คืออาจจะโชว์แฟ้มสะสมเข็มกลัด โชว์โต๊ะที่เอาเข็มกลัดไปประดับแล้ว โชว์เข้าไปให้รู้ว่าเข็มกลัดนี่มันไอเท็มเทพนี่นา

ออกบูท custom badge

อันนี้ได้ไอเดียมาจากเพื่อนชื่อ Slothy ที่ชอบไปออกบูทวาดสด ถ้ามีออปชั่นวาดสดแล้วกลายเป็นเข็มกลัด..​ อาจจะแปลกดี ไม่ต้องยกเครื่องปริ้นต์ไปด้วยเพราะวาดสด แล้วก็คนวาดอาจจะพยายามเล่นอะไรกับความขอบกลมได้?

ด้วยความที่ซื้อเครื่องปั้มมือ ทำให้ยกไปงานได้ ภาพวาดสดอาจจะเป็นหน้าคนที่มาใช้บริการ หรือภาพอื่นตาม request อยากลองทำบูทแบบนั้นซักครั้ง แต่วาดเองคงกระจอกไป น่าจะต้องไปโคกับคนอื่น

แต่ถ้าปั้มพลาดแล้วตาย อุตส่าห์วาดมา 555

ปัญหาของธุรกิจนี้

วัตถุดิบต่อชิ้นค่อนข้างแพง

ค่าชิ้นส่วนแยกที่จะมาประกอบเป็นเข็มกลัด (ถ้าตั้งใจไม่เลือกหลังพลาสติกที่ราคาถูกๆ) เฉลี่ยแล้วใช้เงินประมาณ 6 บาท ยังไม่รวมค่าปริ้นต์ ค่ากระดาษ ค่าซองพลาสติกแยก และค่าแรงทั้งหมด รวมหมดแล้วคิดว่าน่าจะเฉลี่ย 7.5 บาท ถ้าขายราคามาตรฐาน 10 บาท จะทำให้ได้กำไร 3-4 บาทต่อชิ้น

สมมติขายได้ 1000 อันก็ได้เงิน 4000 บาท ซึ่งถ้าเทียบกับเงินเดือนปกติ อยากได้เดือนละ 15000 ต้องขายได้เดือนละ 4000 อัน ซึ่งจำนวนแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะมีมาทุกเดือน คิดว่าอย่างเก่งก็ได้ทำเดือนละ 100-200 ชิ้น ก็นะ ไม่น่าจะเป็นงานหลักขนาดนั้นได้

เครื่องที่ซื้อมา ถ้าจีนก็ range ประมาณ 5000-10000 แต่ของนอกที่เป็นที่รู้จัก Tecre ที่ว่าก็ 15000-20000 (หนักที่ค่าส่งมาไทยด้วย) แปลว่า เราต้องขายให้ได้ประมาณ 5000 เข็มกลัดถึงจะคืนทุนเครื่องได้ ถือว่าเยอะพอสมควร แล้วขายอีก 5000 ถึงจะมีงบซื้อ size ต่อไป

ร้านอื่นที่แคร์เว่อร์น้อยกว่าเรา สามารถ cut cost จากการหาวัตถุดิบพวกนี้แบบฉลาดๆหน่อยได้ แต่เพราะเราเอาไปโม้ดึง attention ในเว็บหมดแล้วทำให้เราไม่ใช้ของแพงไม่ได้ กลายเป็นจุดอ่อนไปด้วย

วัฒนธรรม

ที่ญี่ปุ่นนี้เข็มกลัดเป็นสิ่งที่ relate กับโอตาคุอย่างมาก สังคมเข็มกลัดดู vibrant เสียดายที่ไทยวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเข็มกลัด ส่วนมากจะเป็นแนวงานสัมมนา งานวิ่ง งานประชุม การเมือง เป็นหลัก

ของพวกนั้น ก็เลย skew สังคมเข็มกลัดไปทางผู้ใหญ่ การทำเว็บร้านแบบ "วัยรุ่น" อาจจะทำให้ผู้ใหญ่รู้สึก turned off พอสมควรยิ่งถ้ามีตัวการ์ตูนโมเอะอยู่ในร้าน กลายเป็น backfire ได้เพราะดูไม่โปรพอ งานโดจินก็มีจัดกันในไทยอยู่นะ แต่ไม่เยอะเหมือนญี่ปุ่นขนาดที่ธุรกิจเข็มกลัดจะเฟื่องฟู

แต่คิดว่าจะยอมตรงจุดนี้ เพื่อให้ได้ niche ของตัวเองมา ต้องทิ้ง user base จุดอื่นไป

ความเร็วที่คนคนเดียวทำได้

เวลาการทำของร้านแบบเอาจริงส่วนมากอาจจะ 1-3 วันก็ได้แล้ว ตรงนี้เครื่องปั้มมือเห็นเขาว่าอย่างเก่งก็วันละ 2000 อันถ้าทำคนเดียวทั้งวัน ถ้าได้ order เยอะๆอาจจะแย่และความเร็วไม่สู้ร้าน gift shop ของแท้ได้ อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะแก้ไง แต่ถ้าได้ order ขนาดนั้นคงดีใจตาย 555

แล้วก็ชื่อร้านตั้งมากะแก้ทางความที่ไม่มีเครื่อง automatic ใช้นี้ด้วย คำว่า "craft" อยากให้ดูทำมือมาอย่างพิถีพิถัน ซึ่งก็ทำมือจริงๆ literally

นิยามของคำว่าเข็มกลัด

อันนี้ภาษาอังกฤษก็ยากแล้ว คือมีทั้งคนใช้ Badge, Button, Button Badge, Pin, Pin Badge, Brooch, Circular Badge ของไทยนี้ ถ้า "เข็มกลัด" ก็จะสื่อได้ทั้งแบบกลมๆงี้แหละ หรือเป็นเหล็กขึ้นรูปที่มีเข็มข้างหลัง หรือแม้แต่เข็มเปล่าๆที่ไว้กลัดเสื้อไม่ให้แยกจากกัน ยิ่งยากเข้าไปอีก

แล้วพอตั้งชื่อร้านเป็น "Badge" ก็จะรู้สึกว่าค่อนข้างเขียนให้ถูกยากสำหรับคนไทย ถ้ามีคนอ่านให้ฟังอาจจะเขียนตามไม่ถูกก็ได้ "Craft" จริงๆก็ไม่ใช่คำง่ายแถมเป็นคำควบกล้ำทำให้พูดให้ฟังต้องใช้ effort มากขึ้น แต่โชคดีที่ถึงเขียนรวมกัน "BadgeCraft" แล้วถึงจะจำนวนตัวอักษรยาวแต่อ่านได้ 2 พยางค์

ไม่มีหน้าร้าน

หลายร้านโฆษณาไว้ว่ามั่นใจ "เพราะเรามีหน้าร้าน" ของตัวเองไม่มีหน้าร้าน ก็เลยต้องหาทางชนะใจด้วยอย่างอื่น แต่ถ้าอยากมารับด้วยตัวเองแถวเมเจอร์รัชโยธินหรือ BTS หมอชิตก็ได้นะ ถึงร้านไม่มีแต่ก็จะนั่งรถไปส่งของให้